FX’s Shogun กับ 34 ข้อมูลต้องรู้ ที่ดูซีรีส์ให้ซีเรียสทำการบ้านมาให้แล้ว
เหลือไม่อีกกี่วัน FX’s Shogun EP.10 A Dream of A Dream ซึ่งเป็นเอพิโสดสุดท้ายจะออกอากาศแล้ว (23 เมษายน 2024) แฟนซีรีส์สายมหากาพย์งานสร้าง ซ่อนปมลับลวงพราง อัดแน่นด้วยความรู้ประวัติศาสตร์ ที่ลุ้นกันมานานก็จะได้ดูฉากจบอันงดงามเสียที ส่วนแฟนซีรีส์สายดูรวดก็เตรียมหวดจบครบ 10 อีพีแบบไม่ต้องค้างคา
ดูซีรีส์ให้ซีเรียส ทำการบ้านมาให้แล้วว่าข้อมูลต่อไปนี้ อ่านแล้วดูซีรีส์ FX’s Shogun เข้าใจขึ้น สนุกขึ้น เป็นบ้ามากขึ้นกับดีเทลต่างๆ ที่ซ่อนไว้
ถ้าใครพร้อมแล้วกับซีรีส์มหากาพย์แบบไม่แพ้ Game of Thrones เพียงแต่เรื่องไปอยู่ที่ญี่ปุ่นราวศตวรรษที่ 17 ก็ขอให้ขึ้นรถทัวร์ดูซีรีส์ฯ เก็บเกี่ยวข้อมูลไปดูยาวๆ กับซีรีส์ที่ว่ากันว่าดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่งตลอดกาล FX’s Shogun (2024) รับชมได้ทาง Disney+ Hotstar
สำหรับแฟนซีรีส์ FX’s Shogun อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ตามลิงก์ต่อไปนี้
ซีรีส์ FX’s Shogun ตำนานบทใหม่ของ Hiroyuki Sanada
รีวิว FX’s Shogun EP.1-2 ข้อมูลประวัติศาสตร์จริงที่จะทำให้ดูซีรีส์สนุกขึ้น
รีวิว FX’s Shogun EP.3 วิถีโชกุน และการเรียนรู้จากวันพรุ่งนี้
รีวิว FX’s Shogun EP.4 หลักการรักษาใจ ‘The Eightfold Fence’ หนึ่งในบทเรียนชีวิตวิถีญี่ปุ่น
รีวิว FX’s Shogun EP.5 Broken to the Fist จุดแตกหักของความเงียบสงบ
รีวิว FX’s Shogun EP.6 Ladies of the Willow World คือหัตถาครองพิภพจบสากล
สัมภาษณ์พิเศษ ผู้สร้าง FX’s Shogun กับสิ่งที่เรียนรู้และอยากส่งผ่านซีรีส์มหากาพย์แห่งยุค
รีวิว FX’s Shogun EP.7 A Stick of Time ช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์หรือแตกดับ?
รีวิว FX’s Shogun EP.8 The Abyss of Life ชีวิตรอด หรือ ญี่ปุ่นรอด
FX’s Shogun กับ 34 ข้อมูลต้องรู้ ที่ดูซีรีส์ให้ซีเรียสทำการบ้านมาให้แล้ว
รีวิว FX’s Shogun EP.9 Crimson Sky แผนลับลวงพรางที่ยอมแลกทุกอย่างเพื่อชัยชนะ
1. ทำไมถึงชื่อ FX’s Shogun
ซีรีส์ FX’s Shogun แปลตรงตัวก็คือซีรีส์โชกุน ของ FX ช่องเคเบิลของสหรัฐอเมริกา ออกอากาศทาง Hulu ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Disney+ ในตอนนี้
สาเหตุที่ตั้งชื่อแบบนี้ เพราะ Shogun เคยสร้างเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์มาแล้วในปี 1980 เป็นงานสร้างโดย Paramount Television ออกอากาศทาง NBC มีทั้งหมด 5 เอพิโสด ทุนสร้าง 22 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ เวลานั้น ได้รับความนิยมและได้รับรางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยม Golden Globe Awards ด้วย ความน่าสนใจก็คือ Shogun (1980) นักเขียน เจมส์ คลาเวลล์ มารับหน้าที่ Executive Producer ด้วย และเป็นซีรีส์ที่ถ่ายทำในญี่ปุ่นทั้งเรื่อง
2. FX’s Shogun คือซีรีส์อะไรยังไง ไหนเล่า
FX’s Shogun ซีรีส์จาก FX สร้างจาก Shogun หนังสือในตำนานของ เจมส์ คลาเวลล์ ที่ตีพิมพ์ในปี 1975 ความหนา 1,152 หน้า โดย Shogun เป็นหนังสือในชุด Asian Saga ตีพิมพ์ระหว่างปี 1962-1993 มีทั้งหมด 6 เล่ม
1. King Rat (1962) เรื่องราวในสิงคโปร์
2. Tai-Pan (1966) เรื่องราวในฮ่องกง
3. Shōgun (1975) เรื่องราวในญี่ปุ่น**
4. Noble House (1981) เรื่องราวในฮ่องกง
5. Whirlwind (1986) เรื่องราวในอิหร่าน
6. Gai-Jin (1993) เรื่องราวในญี่ปุ่น
แน่นอนว่า Shogun เป็นเล่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด เล่าเรื่องราวของสงคราม กิเลส และอำนาจ ในปี 1600 ที่เหล่าขุนนางแก่งแย่งอำนาจเพื่อเป็นใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ไดเมียวโยชิอิ โทรานางะ ที่ตกที่นั่งลำบากจะพลิกเกมการต่อสู้อย่างไรให้เขาขึ้นเป็นโชกุนเพื่อปกป้องญี่ปุ่นให้อยู่รอด ในระหว่างที่การล่าอาณานิคมกำลังรุนแรง และนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกเดินทางมาถึง กลายเป็นตัวแปรสำคัญบางอย่าง
3. ใครคือผู้สร้าง FX’s Shogun
FX’s Shogun เป็นงานสร้างสรรค์โดย ราเชล คนโดะ และจัสติน มาร์กส์ โดยมาร์กส์ดูแลรับผิดชอบทั้งในบทบาท Showrunner ที่ดูแลโปรดักชันและการถ่ายทำ ควบกับบทบาทผู้อำนวยการสร้างคู่กับ มิคาเอลา คลาเวลล์, เอ็ดเวิร์ด แอล. แมคดอนเนลล์, ไมเคิล เดอ ลูกา และราเชล คนโดะ
ราเชล กับจัสติน ให้สัมภาษณ์กับดูซีรีส์ให้ซีเรียสไว้ว่า
“การทำงานในซีรีส์เรื่องนี้มันเหมือนกับว่าเรากำลังขับรถ ในขณะเดียวกันก็สร้างรถคันนั้นไปด้วย คุณต้องเรียนรู้ที่จะเล่าเรื่องของ Shogun ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้คนมากมายในการสร้างให้เรื่องราวให้ถูกต้องสมบูรณ์” – ราเชล
“ในกองถ่ายของเราที่บริติชโคลัมเบีย ส่วนใหญ่จะเป็นทีมงานชาวแคนาดาครับ แล้วเราก็ชวนทีมงานญี่ปุ่นเข้ามา ทั้งนักแสดงสมทบ นักแสดงหลัก โปรดิวเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เป็นการทำงานที่ร่วมกันกับทีมแคนาดา ผู้กำกับ ผู้ช่วยผู้กำกับที่มีหลายชาติหลายภาษา ทุกๆ วันก็คือการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของความเชี่ยวชาญต่างๆ” – จัสติน
4. FX’s Shogun ทุนสร้างเท่าไหร่
FX’s Shogun ไม่มีรายงานงบประมาณการสร้าง แต่มีการคาดเดากันว่าสูงมากระดับที่เรียกได้ว่าเป็นซีรีส์ทุนสร้างสูงสุดของ FX กันที่ประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไหนลองมาดูกันหน่อยว่าซีรีส์ทุนสร้างสูงสุดมีเรื่องอะไรบ้าง
The Lord of the Rings: The Rings of Power (2022) เอพิโสดละ 58 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Prime Video
Citadel (2023) เอพิโสดละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Prime Video
Stranger Things (2016-2024) เอพิโสดละ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Netflix
Wanda Vision (2021) เอพิโสดละ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Disney+ Hotstar
House of the Dragon (2022-2024) เอพิโสดละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย HBO
3 Body Problem (2024) เอพิโสดละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Netflix
5. FX’s Shogun กวาดเรตติ้ง 99% Tomatometer 91% Avg. Audience
99% Tomatometer ไม่ได้มาง่ายๆ แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ เพราะ FX’s Shogun เขามาทรงดีมากตั้งแต่ยังไม่ออกอากาศ ซึ่งสิ่งที่คิดว่าเป็นตัวชี้วัดน่าจะเป็นคะแนนจาก Avg. Audience Score ที่มาจากคนดูจริงๆ ว่าคิดเห็นอย่างไรกับซีรีส์เรื่องนี้ ซึ่งซีรีส์ FX’s Shogun ได้คะแนนสูงมากถึง 91%
Rotten Tomato ให้คะแนนคะแนนมะเขือว่าจะสดหรือเน่าจากการรวบรวมคำวิจารณ์น่าเชื่อถือต่างๆ มาแปลงเป็นคะแนนมะเขือ ส่วนตัวถังป๊อปคอร์นเป็นคะแนนที่รวบรวมจากคนดูทั่วไป
6. ตอนนี้ FX’s Shogun อยู่ในอันดับ 6 ใน IMDB Top Rating
มาดูกันที่อันดับความนิยมใน IMDB ที่ว่ากันว่าเชื่อถือได้มากอีกเวHบไซท์หนึ่ง ในตอนนี้ FX’s Shogun ได้เรตติ้ง 9.1 ขึ้นไปอยู่ในอันดับ 6 ตามอันดับ
7. โลเคชันการถ่ายทำอยู่แคนาดา ไม่ใช่ญี่ปุ่น ด้วยสถานการณ์โควิดและอะไรต่างๆ นานา ทำให้ FX’s Shogun ปักหลักถ่ายทำที่บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา โดยสร้างเซ็ตเพื่อใช้ในการถ่ายทำขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปราสาทโอซาก้า สวนเซน หมู่บ้านติดทะเล เรือเดินสมุทร ฯลฯ เฮเลน ฮาร์วิส Production Designer เล่าว่าทีมงานสร้างฉากสำหรับ EP.1-2 ใช้เวลาทั้งหมด 80-100 วัน อุปกรณ์ประกอบฉากนำมาจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผ้า เสื้อผ้า ดาบ เชือก แต่อะไรไม่เท่าการขนย้ายต้นสน (White Pine) มาจากญี่ปุ่น เพื่อให้ฉากสมจริงมากยิ่งขึ้น จึงสามารถเรียกว่า FX’s Shogun เป็นซีรีส์อเมริกาที่สร้างโดยทีมงานคนญี่ปุ่นได้เหมือนกัน 8. ฉากโรงละครโน Noh Theatre ที่ถอดแบบของจริงมาเลย FX’s Shogun EP.6 มีฉากที่เกิดขึ้นในโรงละครโน ที่เหล่าไดเมียวและขุนนางมาร่วมชม ซึ่งฉากนี้มีการสร้างโรงละครล่วงหน้าหลายสัปดาห์ และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรงละครโน รวมถึงนักแสดงจริงๆ บินจากญี่ปุ่นเพื่อมาเข้าฉากนี้ ซึ่ง จัสติน มาร์กส์ ผู้สร้าง ให้สัมภาษณ์กับดูซีรีส์ให้ซีเรียสว่า “ไม่ใช่แค่ความตั้งใจถ่ายทอดวัฒนธรรมละครโน เรายังต้องการให้ฉากนี้สะท้อนอะไรบางอย่างกับเรื่องราวใน FX’s Shogun ด้วย เบื้องหลังฉากนี้เลยเต็มไปด้วยความสมจริงเชิงวัฒนธรรมเก่าแก่ที่เราปรับเปลี่ยนให้ฉากสมจริงตรงตามประวัติศาสตร์ของละครโน แต่บทที่ใช้ในละครเป็นสิ่งที่แต่งขึ้นมาใหม่ให้ตรงกับเนื้อเรื่องซีรีส์” โรงละครโน หรือ Noh Theatre คือการแสดงละครสวมหน้ากากแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอโดะ โดยทางโปรดิวเซอร์ FX’s Shogun ได้ทำงานร่วมกับ คาซุฟุสะ โฮโช มาสเตอร์ด้านละครโน มีการสร้างสรรค์บทกวีและออกแบบท่าทางเพื่อให้ฉากนี้คือละครซ้อนละคร สนใจศึกษาต่อเบื้องหลังฉากนี้ รับชมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=mk-Df0UUifU 9. พี่ชิเหน่เคยไปถ่ายไพล็อต Shogun ในปี 2019 แต่กว่าจะได้แสดงจริงก็ปลายปี 2021 ตอนแรกมีความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและอังกฤษในการสร้างซีรีส์ Shogun ในปี 2019 โดยที่ ซานาดะ หรือพี่ชิเหน่ของเรา ไปแสดงไพล็อตอยู่ 1 วันเต็มๆ ที่อังกฤษ แต่แล้ว ในปี 2020 มีการเปิดเผยว่านักเขียนเดิมวางมือจาก Shogun ทำให้ทีมเขียนบทต้องเริ่มต้นใหม่ และได้ จัสติน มาร์กส์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับ ราเชล คนโดะ เริ่มถ่ายทำในเดือนกันยายน 2021 บานปลายจนการถ่ายทำเสร็จในเดือนมิถุนายน 2022 10. ตัวละคร โทรานากะ รับบทโดย พี่ชิเหน่ หรือ ฮิโรยูกิ ซานาดะ โยชิอิ โทรานางะ ในซีรีส์ FX’s Shogun รับบทโดย ฮิโรยูกิ ซานาดะ เขาเป็นนักแสดงที่รู้จักในด้านการรับบทตัวละครที่มักจะมาพร้อมกับมาดขรึมๆ เคร่งเครียด ทรงภูมิ เป็นที่รู้จักในฐานะ ‘Sean Bean’ แห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักของคนรักหนังทั้งโลก เพราะหนังฮอลลีวูดเรื่องไหนมีตัวละครเอเชียเกิดขึ้น ต้องเป็นพี่เขาคนนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น The Last Samurai, The Wolverine, 47 Ronin, Avengers: Endgame, Mortal Kombat และ John Wick: Chapter 4 และด้วยความที่เป็นตัวละครสมทบบ้าง ตัวรองบ้าง หรือตัวหลักบ้าง พี่ฮิโรยูกิ ซานาดะ ก็มักจะมีจุดจบตัวละครในหนังแบบตายด่วน ตายไว ยังไงก็ตายอยู่เสมอ จนกลายเป็นชื่อเรียก พี่ชิเหน๋ หรือที่มาจากภาษาญี่ปุ่นว่า ชิเนะ แปลว่า ไปตายซะ นี่เอง นอกจากนี้ FX’s Shogun พี่ชิเหน่ยังขึ้นแท่นเป็นผู้ควบคุมการผลิตซีรีส์นี้ให้ออกมาสมบูรณ์แบบ ทั้งดูแลการซักซ้อม ฉากต่อสู้ ไปจนถึงคัดเลือกด้ายที่ตัดเย็บเสื้อผ้า เขาใช้ความรู้ที่สั่งสมมาและประสบการณ์จากบ้านเกิดขับเคลื่อนให้ซีรีส์มีความคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมากที่สุด 11. โทรานากะ คือใครในประวัติศาสตร์จริง โทรานากะ ในซีรีส์ FX’s Shogun สร้างจากชีวิตจริงของ โทกุงาวะ อิเอยาสุ โชกุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่น เรื่องราวค่อนข้างตรงกับในซีรีส์ – โทกุงาวะ อิเอยาสุ เกิดในปี 1543 เป็นลูกชายไดเมียวที่ปกครองปราสาทโอคาซากิ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับเรื่องราวในซีรีส์ FX’s Shogun ในตอนนี้ที่กำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม สงครามสุดท้ายแห่งยุคเซนโงกุ ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคเอโดะ ภายใต้การปกครองของโชกุนโทกุงาวะ อิเอยาสุ และการขึ้นปกครองแผ่นดินของเขาก็กินเวลาไปมากกว่า 200 ปี เป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญที่ส่งให้ประเทศญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน 12. ตัวละครมาริโกะ FX’s Shogun มีตัวตนอยู่จริง โทดะ มาริโกะ ล่ามสาวคนเก่งในซีรีส์ อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของ อะเคชิ ทามะ โดยตัวตนจริงๆ ที่ซีรีส์หยิบยืมมาใช้ในเรื่องราว หรือในชื่อภายหลังว่า โฮโซกาวะ กราเซีย (Hosokawa Gracia) – เธอเกิดในปี 1563 เป็นลูกสาวคนโปรดของ อะเคชิ มิตซูฮิเดะ (ในซีรีส์ชื่อ อะเคชิ จินชัย) พื้นฐานคาแรกเตอร์ค่อนข้างคล้ายกันก็คือใช้ชีวิตวัยเด็กในแบบสตรีชั้นสูง เพราะพ่อมีฐานะเป็นขุนนางใกล้ชิดผู้นำญี่ปุ่น โอดะ โนบุนากะ (ในซีรีส์คือ คุโรดะ) เรียกว่าเป็นขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเวลานั้น – ในปี 1582 ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในญี่ปุ่น ฮิเดโยชิขึ้นครองอำนาจแทน เธอเสียพ่อและครอบครัวทั้งหมด ระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาเริ่มแพร่หลายในญี่ปุ่น ด้วยความเศร้าโศกแสนสาหัส เธอเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับคาทอลิก เช่นเดียวกับครอบครัวของสามีที่ให้ความสนใจในศาสนาตะวันตกนี้ – หลังเข้ารีตเป็นคาทอลิก เธอได้รับชื่อใหม่ว่า กราเซีย – ในปี 1600 โทคุกาวะ อิเอยาสึ (ในซีรีส์คือโทรานากะ) ขึ้นปกครองญี่ปุ่น ครอบครัวของสามีเข้าอยู่ฝ่ายเดียวกับโทรานากะ ส่วนตัวเธอเองยังคงอยู่ที่โอซาก้า เรียนภาษาโปรตุเกสและละตินจนพูดได้คล่องแคล่ว นับเป็นชาวคาทอลิกที่เรียกได้ว่าศรัทธาแรงกล้าที่สุดคนหนึ่งในเวลานั้น – เพราะฉะนั้น ในประวัติศาสตร์จริงแล้ว มาริโกะกับแบล็กธอร์นไม่เคยได้พบกันเลย 13. ชีวิตจริงของ วิลเลียม อดัมส์ ซามูไรต่างชาติคนแรก หรือในซีรีส์ชื่อว่า จอห์น แบล็กธอร์น วิลเลียม อดัมส์ เป็นนักเดินเรือในสายเลือด ตอนอายุ 12 เขาได้เริ่มทำงานในอู่เรือ จนอายุ 34 ก็ได้เก็บประสบการณ์การเดินเรือมากมาย เดือนมิถุนายน ปี 1598 เขาเป็นหัวหน้าทีมเดินเรือดัตช์-อังกฤษ ร่วมกับเรือทั้งหมด 5 ลำ เดินทางจากยุโรปไปยังเอเชีย เรือทั้ง 5 ลำโดนพายุถล่ม ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม จนเหลือรอดเพียงลำเดียวก็คือเรือ De Liefde ของอดัมส์ ซึ่งไปอับปางอยู่ชายหาดทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ตัวเขาและลูกเรือที่เหลือรอดชีวิตถูกพาตัวไปยังโอซาก้า เมืองหลวงของญี่ปุ่นในเวลานั้น ด้วยความที่อดัมส์มีความรอบรู้ทั้งเรื่องการเดินเรือ การเมือง ศาสนา และรอบรู้ถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ในเวลานั้น ทำให้เป็นที่ถูกใจของ โทกุกาวะ อิเอยาสึ หนึ่งในห้าไดเมียวคนสำคัญ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ขึ้นเป็นโชกุน อดัมส์มีบทบาทสำคัญในการเป็นนักการทูต ช่วยเหลือการค้าขายระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่นช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เขาได้รับตำแหน่งซามูไรชาวต่างชาติคนแรก ช่วยงานการปกครองให้กับโชกุนอย่างมากมาย อดัมส์ตั้งรกรากในญี่ปุ่น แต่งงานมีครอบครัว และเป็นที่รู้จักในชื่อ อันจิน หรือ Miura Anjin (三浦按針) โดยคำว่า อันจิน ก็หมายถึง Pilot หรือนักเดินเรือนั่นเอง ปัจจุบันยังคงมีการระลึกถึงเขา ทั้งอนุสาวรีย์และสวนสาธารณะ สามารถเดินทางไปเยี่ยมชมกันได้ที่ Anjin Memorial Park เมืองอิโตะ ส่วนตัวเรือ De Liefde มีการทำแบบจำลองตั้งไว้ที่เมืองฮิราโดะ นางาซากิ สถานที่ในบั้นปลายชีวิตของเขา 14. กิน องค์แม่แห่งย่านโคมแดงโยชิวาระ ก็มีตัวตนอยู่จริง ย่านโคมแดงโยชิวาระที่ในซีรีส์เอ่ยถึง ถ้านับจากปัจจุบันจะกินพื้นที่อยู่ในย่านอาซากุสะ และได้รับการจัดการเป็นระบบและมีที่ตั้งชัดเจนในยุคเอโดะนี่เอง ส่วนตัวละคร กิน ที่เป็นองค์แม่ของ Willow World หรือสถานบริการและมอบความบันเทิงให้เหล่าซามูไร ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ โชจิ จินเอมอน ผู้ก่อตั้งย่านโคมแดงโยชิวาระ โดยตามข้อมูลเป็นย่านที่เกิดขึ้นในยุคเอโดะ หรือราวปี 1603-1868 สถานที่ให้ความบันเทิงกับเหล่าซามูไร โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ กฎกติกาก็คือเหล่าซามูไรต้องวางอาวุธทุกอย่างเอาไว้ก่อนเข้าใช้บริการ และมีระบบการจัดการที่ยกระดับงานบริการไปอีกขั้น มีการดูแลผู้หญิงในสถานบริการอย่างเหมาะสม ซึ่งโชจิคือคนที่ร้องขอให้โทนารากะอนุญาตสร้างพื้นที่สำหรับสถานชุมชนโคมแดงในเอโดะนี่เอง 15. ตัวละครบุนทาโร่ สามีนักรบของมาริโกะก็มีตัวตนอยู่จริง ฉากหนึ่งที่งดงามและถ่ายทอดวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ครบถ้วน คือฉากที่บุนทาโร่แสดงความรักต่อภรรยาด้วยการชงชาอย่างประณีตบรรจง ซึ่งตรงตามที่เขาได้บอกกับมาริโกะ คือเขาทำให้เธอเพียงคนเดียวเท่านั้น มิติตัวละครบุนทาโร่ที่เก่งมากเรื่องรบ แต่เรื่องรักอาจจะไม่ค่อยเท่าไหร่ อาจจะไม่ค่อยตรงกับประวัติศาสตร์จริงมากนัก เพราะ ทาดาโอกิ โฮโซกาวะ เป็นซามูไรที่เก่งกาจการรบ ขณะเดียวกันก็เป็นนักชงชา นักกวี และนักศิลปะที่หาตัวจับยากเช่นกัน นอกจากนี้ทาดาโอกิกับภรรยาก็ยังแต่งงานกันยาวนานมีลูกด้วยกันหลายคน แม้จะมีปัญหาความไม่ลงรอยในเรื่องศาสนาอยู่บ้าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้มีจุดจบชีวิตคู่แบบในซีรีส์ 16. ตัวละคร โอจิบะ ราชินีผู้หวาดกลัว ก็มีตัวตนอยู่จริง โอจิบะ โนกาตะ จากบุตรสาวของผู้ปกครองสู่นางสนมของไทโกะ แม่ของผู้สืบทอดอำนาจ อ้างอิงจากชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายของ โยโดะ โดโน – โยโดะ โดโน หรือชื่อดั้งเดิมว่า อาซาอิ ชาชา เกิดในปี 1569 เป็นลูกสาวคนโตของ อาซาอิ นากามาสะ ขุนนางระดับสูง แม่ของเธอคือ โออิจิ โนกาตะ น้องสาวของ โอดะ โนบุนากะ (ในซีรีส์คือคุโรดะ ผู้ปกครองญี่ปุ่นคนก่อนหน้า ไทโกะ) การแต่งงานของพ่อแม่เธอคือการสานสัมพันธ์ระหว่างตระกูลอาซาอิและโอดะให้แข็งแกร่ง – นั่นทำให้ในวัย 4 ปี พ่อของเธอต้องฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติซามูไร ในตอนที่ตระกูลอาซาอิพ่ายแพ้ใหักับฝ่ายโอดะ เพราะพ่อของเธอฝ่าฝืนครอบครัวไปเลือกข้างอาซาคุระ – อาซาอิ ชาชา กับแม่และน้องสาว พ้นจากโทษตายด้วยความที่เป็นคนในครอบครัวของโอดะ โนบุนากะ – ในวัย 13 ปี ชาชาอาศัยอยู่กับแม่และน้องสาวที่ปราสาทคัตสึอิ จนกระทั่งเกิดการต่อสู้ และฝั่งของคัตสึอิพ่ายแพ้ แม่กับพ่อเลี้ยงไม่ยอมหนีเอาตัวรอด แต่กลับฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติร่วมกับผู้จงรักภักดีนับร้อยคน ส่วนชาชาและพี่น้องหนีออกไปโดยมีตระกูลโอดะคอยช่วยเหลือดูแล – ในปี 1588 ชาชาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โยโดะ โดโน (ในซีรีส์คือ ท่านหญิงโอจิบะ) กลายมาเป็นนางสนมของฮิเดโยชิ (ในซีรีส์คือไทโกะ) และเป็นนางสนมคนเดียวที่มีลูกชายสืบสายตระกูลให้เขาได้ – ลูกชายคนสองนั้น คนแรกร่างกายอ่อนแอ เสียชีวิตไปตั้งแต่เล็ก ส่วนลูกชายคนที่สอง ฮิเดโยริ ร่างกายแข็งแรง และได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของฮิเดโยชิ – ตอนที่ลูกชายสายตระกูลอายุได้ 5 ปี ฮิเดโยชิได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านหญิงโยโดะกลับมามีอำนาจอีกครั้งในฐานะของแม่ผู้สืบทอดอำนาจ 17. แผ่นดินไหวของจริงในญี่ปุ่นช่วงปี 1600 ตรงกับในซีรีส์ FX’s Shogun เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในญี่ปุ่น มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ในช่วงปี 1605, 1611, 1162 ที่ความรุนแรงทำให้บ้านเรือนเสียหายและมีผู้เสียชีวิตมากมายหลายพันคน ตรงกับเรื่องราวในซีรีส์ FX’s Shogun ที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ จนกระทั่งโทรานากะเองก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด และญี่ปุ่นต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นใหม่อีกครั้ง 18. Eight fold of fence หลักการรักษาใจที่มีอยู่จริง The Eightfold Fence (内憂外患) หรือรั้วแปดขั้นในการรักษาจิตใจจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นเรียนรู้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ อ้างอิงได้จากคำกล่าวของ Kojiki ในหนังสือเก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่งของญี่ปุ่น ‘Records of Ancient Matters’ ซึ่งก็คือการอนุญาตให้ผู้คนก่อสร้างกำแพงที่ไม่อาจพังทลายลงได้ภายในตัวเราเอง เป็นคติญี่ปุ่นที่ได้รับการสอนและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น อย่างมาริโกะเองก็เรียนรู้คำสอนนี้ตั้งแต่ยังเล็ก มันคือการสร้างสถานที่ปลอดภัยข้างในจิตใจ สถานที่ที่เรายังคงความเป็นตัวของตัวเอง และควบคุมจิตใจตัวเองเอาไว้ได้ในวันที่มืดมิดของชีวิตบางช่วง เพราะเราอ่อนแอเกินไป การสร้าง ‘รั้วแปดขั้น’ ก็เหมือนกลไกการรับมืออย่างหนึ่งกับความรู้สึกของคนเรา ในการอนุญาตให้แบ่งแยกความรู้สึกส่วนตัวออกจากสิ่งที่ต้องทำตามหน้าที่ และรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้ให้ได้ แม้ว่าจะต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการก็ตาม 19. Black Ship เรือสินค้าโปรตุเกสที่มีเลศนัย ก็มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ โปรตุเกสเป็นประเทศแรกที่เดินทางไปถึงญี่ปุ่นราวปี 1543 โดยที่เรือทาสีดำกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ และเป็นที่เรียกกันติดปากว่า Black Ship ซึ่งในซีรีส์ FX’s Shogun เราจะได้เห็นเรือลำนี้มีบทบาทในเชิงการค้าของโปรตุเกสที่ออกจะดูขูดรีด ทำนาบนหลังซามูไรอยู่สักหน่อย จัสติน มาร์กส์ ผู้สร้าง ได้อธิบายความสำคัญไว้ว่า Black Ship เป็นเรือที่ใช้ขนส่งสินค้าแลกเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่นและประเทศในแถบใกล้เคียง โดยผ่านคนกลางโปรตุเกส เช่น เครื่องเงินของญี่ปุ่น ผ้าไหมของจีน ซึ่งโดนกดราคาอย่างน่าใจหาย ขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่สินค้า แต่คือเรื่องของการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันก็มีความพยายามจะผูกขาดการค้าทั้งหมดของเอเชียเอาไว้เป็นของตนเอง จอห์น แบล็กธอร์น มองว่าโปรตุเกสค้าขายไม่โปร่งใส แต่สำหรับโปรตุเกส มองการมาถึงของอังกฤษว่าเป็น ‘หัวขโมย’ ที่จะมาแย่งชิงพื้นที่การค้าและดินแดนที่สำคัญ เพราะสินค้าอย่างผ้าไหมและเงินเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในยุโรปนั่นเอง 20. ความขัดแย้งระหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ ในพระเจ้าองค์เดียวกัน ความไม่ลงรอยกันด้านศาสนากลายมาเป็นประเด็นบนดินแดนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในซีรีส์ FX’s Shogun ที่หลังจาก โทกุกาวะ อิเอยาสึ ขึ้นเป็นโชกุนแล้วได้มีการต่อต้านคาทอลิก เนื่องจากมองเห็นว่าต้องการเผยแผ่ศาสนาและทำให้คนญี่ปุ่นเข้ารีต ส่งผลต่อเนื่องทั้งเรื่องการเมือง การค้าเศรษฐกิจ ถ้าดูซีรีส์และลองค้นข้อมูลจะพบว่าจริงๆ แล้วคาทอลิกและโปรแตสแตนท์นับถือพระเจ้าองค์เดียวกัน เพียงแต่เส้นทาง ความเชื่อ และการใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน นั่นจึงเป็นประเด็นสำคัญที่เห็นในซีรีส์ FX’s Shogun ว่าแม้จะเดินทางมาติดต่อค้าขายด้วยเรือ สีผิวแบบเดียวกัน ก็อาจมีจุดประสงค์แตกต่างกันได้เช่นกัน ศาสนาคริสต์เกิดนิกายโปรเตสแตนท์มาจากความเห็นต่างที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มชาติตะวันตก จนทำให้กลุ่มผู้คัดค้าน หรือโปรเตสแตนท์ ได้แยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี 1529 โดยประเทศในกลุ่มโปรเตสแตนท์ก็จะมี สแกนดิเนเวีย เยอรมนี ฝรั่งเศส สวีเดน อังกฤษ ถ้าสังเกตเราจะเห็นว่า ‘ไม้กางเขน’ มีบทบาทสำคัญในซีรีส์ FX’s Shogun เพราะมีการฉายให้เห็นและสร้างความหมายที่เข้าใจได้ว่านี่คือนิกายใด และจะมีปมขัดแย้งระหว่างกันอย่างไร 21. การกระทำเซปปุกุ แสดงเกียรติและศักดิ์ศรีชีวิตซามูไรอย่างไร ในซีรีส์ FX’s Shogun เราได้เห็นฉากการกระทำ Seppuku หรือการปลิดชีวิตตนอย่างสมเกียรติอยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับใน EP.8 ต้องยอมรับว่าฉากนี้ทำให้เข้าใจความหมายของการสละชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี และเป็นฉากที่ยกระดับเรื่องราวในซีรีส์ไปอย่างเหนือชั้น เพราะมันคือความผูกพันระหว่างกัน การยอมรับ เชื่อใจซึ่งกันและกันอย่างไม่ต้องพูดอะไรออกมา การกระทำ Seppuku สำหรับเหล่าซามูไรในญี่ปุ่นจะใช้มีดสั้นแทงหน้าท้องกรีดตัดลำไส้ แล้วซามูไรอีกคนจะใช้ดาบยาว หรือคาตานะ ตัดศีรษะให้ขาดในดาบเดียว ตามคติที่เชื่อว่าเป็นการตายอย่างสมเกียรติ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญและความสามารถในการบังคับจิตใจตนเองให้ทำเรื่องที่ยากที่สุดได้ การกระทำ Seppuku คือการแสดงความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับความตาย เพราะฉะนั้นจึงมักทำในขณะที่มีผู้คนร่วมเป็นสักขีพยาน 22. ดาบซามูไร ทำไมมีสองอัน ซีรีส์ FX’s Shogun ในเหล่าคาแรกเตอร์ซามูไรแล้วมักจะพกดาบสองอัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องพกติดตัว โดยฟังก์ชั่นคือสำหรับซามูไรในการต่อสู้หรือป้องกันผู้นำ อีกมุมหนึ่งคือการแสดงสถานะอันมีเกียรติของซามูไรเอง เราจึงได้เห็นว่า ฟูจิ ยกดาบซามูไรของครอบครัวให้กับจอห์น แบล็กธอร์น เพราะตามสถานะซามูไรชั้นสูงที่เขาได้รับก็ควรมีดาบคู่กายของตัวเอง โดยที่ดาบจะมีขนาดสั้นและขนาดยาว มักเป็นของคู่กายซามูไรที่พกติดตัวตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อไปเป็นแขกบ้านคนอื่น จำเป็นต้องฝากดาบยาวไว้ก่อนเข้าบ้าน 23. FX’s Shogun ใช้แสงธรรมชาติในการถ่ายทำเพื่อความสมจริง ในช่วงปี 1600 ตามเรื่องราวในซีรีส์ ญี่ปุ่นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ มีเพียงแสงไฟจากเทียน ตะเกียง แสงแดด ตามธรรมชาติ เพื่อความสมจริง ทีมสร้างก็ได้ใช้แสงที่เกิดขึ้นจริงในเวลานั้นๆ เป็นหลัก เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ดูสมจริงตามอย่างที่ควรจะเป็น เพราะระยะเวลาการถ่ายทำราว 10 เดือน ผ่านฤดูกาลเกือบทั้งปี เช่นเดียวกับเรื่องราวในซีรีส์ FX’s Shogun ที่ผ่านเหตุการณ์ยาวนานนับปี ทั้งฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ เพราะฉะนั้น ความมืดอับชื้นของฤดูหนาวที่แสงแดดแทบไม่มีก็เป็นจริงอย่างที่เห็นในซีรีส์ หรือฤดูร้อนที่แดดส่องยาวตลอดวันก็มีให้เห็น “ฝน ลม ละอองทะเล โคลนเฉอะแฉะที่เห็น ช่วยให้คาแรกเตอร์แสดงออกได้อย่างตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มันช่วยสร้างจินตนาการให้นักแสดงได้ด้วยว่าตัวละครของพวกเขากำลังเผชิญหน้ากับอะไรอยู่” 24. ไก่ฟ้ากลับหัวต้องห้าม แตะแล้วตาย! ฉากสะเทือนใจในความแน่วแน่และภักดีของวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็คือฉากไก่ฟ้ากลับหัวที่ จอห์น แบล็กธอร์น ได้รับมาจากโทรานากะ ในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ชาติตะวันตกมักจะกลับหัวไก่ฟ้าแล้วแขวนเอาไว้ราว 10-14 วันในอุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส เพื่อให้เนื้อรสชาติดียิ่งขึ้น เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง แต่การออกคำสั่งว่าใครแตะต้องไก่งวงต้องตายทำให้เกิดปัญหาตามมา เพราะกลิ่นเหม็นนั้นเกินกว่าจะทนไหว วัฒนธรรมญี่ปุ่นเชื่อว่าการแขวนสัตว์เน่าเสียไว้หน้าบ้านจะเป็นคำสาปให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ในหมู่บ้าน จนในที่สุดมีการยอมขัดคำสั่งเกิดขึ้น 25. ความงดงามในการถ่ายทอดทางภาษา ผู้สร้างซีรีส์ FX’s Shogun ให้สัมภาษณ์ว่าเริ่มเขียนบทจากมุมมองตะวันตก จนได้เรียนรู้รายละเอียดของเรื่องราวผ่านการทำงานควบคู่ไปกับคนญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจริงๆ มีการแก้บทกลับไปมาเป็นภาษาอังกฤษที่ในท้ายที่สุด เป็นบทที่ถ่ายทอดความสมจริง ทั้งยังงดงามในการใช้ภาษาอย่างยิ่ง อย่างเช่นใน FX’s Shogun EP.8 คือฉากการโต้ตอบระหว่างโทรานากะและมาริโกะ หลังจากผ่านเรื่องที่แสนทุกข์ระทม การสนทนาผ่านบทกวีสะท้อนความหมายภายในใจได้มากมาย และเป็นบทซีรีส์ที่กระชับ คมคาย และงดงามมากจนต้องจดมาฝากกัน โทรานากะ: The sound of rain on the leaves can be heard. “เสียงของฝนหล่นบนบนไม้ย่อมได้ยิน 26. โทรานากะ = Ned Stark? มีหลายคนเทียบ โทรานากะ โชกุนจาก FX’s Shogun กับ เนด สตาร์ก แห่งซีรีส์ Game of Thrones ว่าคล้ายๆ กัน ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าโทรานากะมีชั้นเชิงเหนือกว่า แล้วออกไปทางนักวางแผนมากกว่าเนดที่มีทรงชายแทร่ แมนๆ แม้จะรู้ว่าเป็นกับดักก็ยินยอมสละชีพ โดยไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์ต่อจากนั้นจะลุกลามบานปลายจนครอบครัวล่มสลาย เพราะฉะนั้นใครที่เคยขัดใจกับ เนด สตาร์ก ลองมาดูโทรานากะวางแผนแล้วต้องบอกว่าเฉียบ! กลยุทธ์ที่เหนือชั้นและยอมเสียสละอย่างที่สุดเพื่อชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ 27. การล่าอาณานิคมเริ่มต้นได้อย่างไร ทำไมโปรตุเกส-สเปนจึงไปถึงญี่ปุ่นก่อนใคร โปรตุเกส ประเทศเล็กๆ ในตอนนี้ แต่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เพราะเก่งการเรือมาก นั่นทำให้โปรตุเกสนับเป็นประเทศแรกๆ ที่เดินทางไปติดต่อค้าขาย เผยแผ่ศาสนา ไปจนถึงล่าอาณานิคมในโลกตะวันออกไกล สเปน เป็นประเทศที่ออกเดินเรือไปค้นหาดินแดนใหม่ๆ ในช่วงแรกเช่นกัน โดยทั้งโปรตุเกสและสเปนเป็นคู่รักคู่แค้นมาแต่ไหนแต่ไร แม้ว่าจะดินแดนอยู่ติดกันบนคาบสมุทรไอบีเรียก็ตาม ด้วยความที่ในสมัยก่อนนั้น โปรตุเกสและสเปนก็ไม่ได้มีทรัพยากรมากมายหลากหลาย การเดินเรือออกค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับดินแดนอื่นๆ จึงเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ทั้งกับแอฟริกาใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย จีน แต่การจะเดินเรือไปได้ ทางที่ง่ายและใกล้ที่สุดคือผ่านทางอาณาจักรออตโตมัน ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานั้น แต่ด้วยความที่อาณาจักรออตโตมันนับถือศาสนาอิสลาม ก็เลยทำให้การล่องเรือผ่านเป็นไปได้ยากมาก ทางออกของกองเรือสเปนและโปรตุเกสก็คือล่องเรืออ้อมแอฟริกา แล้วใช้เมืองเคปทาวน์เป็นจุดแวะพัก ก่อนมุ่งหน้าไปตะวันออกไกล หรือคาบสมุทรเอเชีย ดังนั้นแล้วการที่สเปนและโปรตุเกสจะเดินทางไปถึงญี่ปุ่นได้ก่อนอังกฤษก็เป็นความเข้าใจได้ 28. อะไรคือดีลลับ Treaty of Tordesillas (สนธิสัญญาทอร์เดซิยาส) ระหว่างสเปนและโปรตุเกส ที่แบ่งดินแดนบนโลกเป็นสองซีก ระหว่างเดินเรือไปยังเมืองต่างๆ ทั้งโปรตุเกสและสเปนต่างก็มองเห็นช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเอง ทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นครอบครองอาณานิคม เพราะหลายครั้งที่ไปพบดินแดนใหม่ๆ และมีทรัพยากรมากมาย ชาวพื้นเมืองก็ไม่ได้มีระบบการปกครองที่จะมาทำข้อตกลงด้วย นั่นจึงเกิดเป็นดีลลับสำหรับสองประเทศ เรียกว่า Treaty of Tordesillas (สนธิสัญญาทอร์เดซิยาส) ในปี 1494 ในการแบ่งดินแดนบนโลกเป็นสองซีก และแบ่งกันเป็นเจ้าของสิทธิในการสำรวจและครอบครองดินแดนนั้นๆ ซึ่งในตอนนั้นประเทศใหญ่ๆ อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ก็ไม่ได้เห็นชอบด้วย 29. ไล่เรียงไทม์ไลน์การเดินทางของเรือ De Liefde ที่เดินทางไปญี่ปุ่น ซีรีส์ FX’s Shogun เปิดฉากมาก็ว่าด้วย จอห์น แบล็กธอร์น นักเดินเรือจากอังกฤษ คนแรกที่เดินทางมาถึงญี่ปุ่น ซึ่งเรือ De Liefde (แปลว่า Charity) ที่เขานำทางจนมาถึง เป็นเรือลำเดียวจากทั้งหมด 5 ลำที่เริ่มต้นเดินเรือไปยังเอเชียด้วยกัน – 27 มิถุนายน 1598 De Liefde ออกจากท่าเรือรอตเตอร์ดัมพร้อมๆ กับเรืออีก 4 ลำ สัญชาติดัตช์และอังกฤษ เพื่อเดินทางไปยังทวีปเอเชีย โดยมีลูกเรือรวมกันมากกว่า 500 ชีวิต – เส้นทางเดินเรือแตกต่างออกไป เพราะต้องการหลีกเลี่ยงหูตาของโปรตุเกส – พวกเขาเลือกเส้นทางที่ไม่ผ่านแหลมกู๊ดโฮป แอฟริกาใต้ ที่ทางโปรตุเกสดูแลอยู่ แต่เลือกล่องเรือไปมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านทางแหลมใต้สุดของอเมริกาใต้แทน – การเดินทางอันยาวนานและแสนทรมานนั้นทำให้เรือทั้ง 5 ลำกระจัดกระจาย ทั้งพายุ การขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บที่ติดต่อกันบนเรือด้วยสุขอนามัยที่ไม่ดีนัก – เรือลำหนึ่งกลับไปยังอัมสเตอร์ดัมได้ ขณะเรือที่เหลือนั้นล่องไปยังบริเวณต่างๆ ของเอเชียแตกต่างกันไปตามยถากรรม – ซึ่ง De Liefde เป็นเรือลำเดียวที่ไปถึงญี่ปุ่นในสภาพที่เรียกว่าใกล้ตายเต็มที – 19 เมษายน 1600 De Liefde อับปางตรงชายฝั่งของเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น – บนเรือเหลือเพียงผู้รอดชีวิต 25 คน จากลูกเรือทั้งหมดมากกว่า 100 คน และใน 25 คนนั้นก็ป่วยหนักบ้าง ถูกเอาชีวิตบ้าง จนเหลือเพียงแค่ 5 คนเท่านั้นที่ได้ขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่นในท้ายที่สุด 30. อังกฤษอยู่ตรงไหน ในช่วงปี 1600 นอกจากนี้ อังกฤษที่อยู่ในการดูแลของควีนอลิซาเบธ ได้ส่งเรือออกติดต่อค้าขายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 1600 เป็นปีจุดเปลี่ยนที่มีการต่อตั้งบริษัท East India ธุรกิจข้ามชาติที่มีบทบาทสำคัญกับประวัติศาสตร์อินเดีย อังกฤษ ไปจนถึงไทยในเวลาต่อมา ซึ่งในซีรีส์ FX’s Shogun ก็จะเห็นได้ว่าการติดต่อค้าขายระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่นเริ่มต้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่องก็ด้วยความสามารถของ จอห์น แบล็กธอร์น นี่เอง 31. ไล่เรียงยุคสมัยของญี่ปุ่นให้เข้าใจ ยุคของ โดโยโตมิ ฮิเดโยชิ ราวปี 1598-1600 โอดะ โนบุนากะ ได้เข้าโจมตีเมืองเกียวโตที่เป็นเมืองหลวง แล้วล้มขั้วอำนาจเดิมได้สำเร็จ แต่แล้วเขากลับถูก อาเคจิ มิตซึฮิเดะ (ในซีรีส์คือ อะเคชิ จินไซ) ซามูไรคนสนิททรยศจนต้องสูญเสียทุกอย่าง 32. ยุคเอโดะ (Edo) ปี 1603-1868 ของโชกุนโทรานากะ โทกุกาวะ อิเอยาสึ จัดการกับฝ่ายต่อต้านเรียบร้อยก็ได้สถาปนาตนเป็นโชกุน และรวบอำนาจทั้งหมดในดินแดนญี่ปุ่น ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เอโดะ หรือเมืองโตเกียวในปี 1603 รัฐบาลเอโดะที่สืบทอดโดยตระกูลโทกุกาวะ ปกครองญี่ปุ่นราว 250 ปี ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว มีการค้าขายกับต่างดินแดน ขณะเดียวกันก็มีความพยายามในการปราบปรามคาทอลิก ในภายหลังบุตรชายของเขา โทกุกาวะ ฮิเดตาดะ ได้ขึ้นปกครอง โดยที่อิเอยาสึขึ้นไปเป็นโชกุนที่ปรึกษา 33. ความแตกต่างของ โชกุน และ ไดเมียว ไดเมียว คือตำแหน่งเจ้าเมือง มีความสำคัญรองลงมาจากโชกุน ซึ่งไดเมียวจากหลายตระกูลก็ได้เป็นโชกุนในเวลาต่อมา อย่างในซีรีส์ FX’s Shogun ไดเมียวทั้ง 5 ของเรื่องก็ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ของญี่ปุ่น โดยที่รวมศูนย์อำนาจจะอยู่ที่โชกุน ผู้ปกครองสูงสุด 34. ในปี 1600 ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในเรื่องราวนี้ ระหว่างที่ดูซีรีส์ FX’s Shogun ก็มีคำถามที่ผุดขึ้นมาตลอดว่า ‘ดินแดนสยาม’ อยู่ตรงไหนในเรื่องราวนี้ และจากการสืบค้นพบว่า ค.ศ. 1600 จะเท่ากับ พ.ศ. 2143 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยารุ่งเรือง ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
– ในวัยเด็กเขาต้องไปเป็นตัวประกันของเจ้าเมือง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามคนที่ขึ้นมามีอำนาจ
– จนกระทั่งในปี 1556 เขาได้รับคำสั่งให้กลับไปเป็นไดเมียวปกครองปราสาทโอคาซากิของตระกูลอีกครั้ง
– ร่วมรบจนส่งให้ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ขึ้นปกครองญี่ปุ่น ส่วนเขาได้ขึ้นเป็นไดเมียวที่มีอำนาจสูงสุด ร่วมเป็นหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทน โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ที่เสียชีวิตในเวลาต่อมา
– ตอนที่อายุได้ 15 ปี ทามะแต่งงานกับ ทาดาโอกิ (ในซีรีส์คือ บุนทาโร่) นักรบลูกชายคนโตของ ฟูจิทากะ โฮโซกาวะ (ในซีรีส์คือ โทดะ ฮิโรมัตสึ) ขุนนางที่ทรงอิทธิพลเช่นกัน ทั้งคู่เป็นครอบครัวที่มีความสุข มีลูกด้วยกัน 5 คน
นิกายโปรเตสแตนท์ ขึ้นตรงต่อพระเยซูเพียงพระองค์เดียว ไม่เน้นกราบไหว้บูชา นับถือรูปเคารพ ไม่นิยมสวมสร้อยไม้กางเขน
นิกายคาทอลิก นับถือพระเยซูและพระแม่มารี ไม้กางเขนมักจะมีพระเยซูถูกตรึง
ดาบคาตานะ เป็นดาบยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตร สำหรับการต่อสู้แบบตัวต่อตัว
ดาบวากิซาชิ ดาบขนาดกลาง ความยาว 30-60 เซนติเมตร ใช้ในการกระทำ Seppuku
มาริโกะ: Still more fragile is the dew of tears on my sleeves even in springtime.
โทรานากะ: Waiting, the pine tree never withers in winter.
มาริโกะ: If I could use words like scattering flowers and falling leaves, what a bonfire my poems would make.
บอบบางกว่านั้นคือหยดน้ำค้างบนชายเสื้อ แม้ในฤดูใบไม้ผลิ
รอคอย ต้นสนที่ฤดูหนาวไม่เคยทำให้เหี่ยวเฉา”
มิตสึฮิเดะพยายามตั้งตนเป็นโชกุน แต่ถูก โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้สืบทอดของโนบูนางะ (ในซีรีส์คือ ไทกะ) มาล้างแค้นคืน จากนั้นได้สถาปนาตนขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด รวบรวมดินแดนต่างๆ ในญี่ปุ่นให้กลายเป็นแผ่นดินเดียวกันได้สำเร็จ
ฮิเดโยชิ ได้แต่งตั้ง 5 ไดเมียวคนสำคัญขึ้นเป็นผู้ช่วยราชการเพื่อหวังให้เกิดการคานอำนาจ โดยหนึ่งในไดเมียวหรือเจ้าเมืองต่างๆ นั้น โทกุกาวะ อิเอยาสึ คือคนสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุดในเวลานั้น
ปี 1598 ฮิเดโยชิป่วยหนักและเสียชีวิตลง มีบุตรชายสืบทอดบัลลังก์ก็คือ โทโยโดมิ ฮิเดโยริ ซึ่งระหว่างการร่วมกันปกครองญี่ปุ่นขณะที่ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ยังอายุน้อยเกินไปนั้นก็มีการสู้รบกันหลายครั้ง สุดท้ายฝั่งโทกุกาวะได้รับชัยชนะและขึ้นเป็นโชกุน
โชกุน คือผู้ปกครองประเทศ ที่อยู่เหนือจากไดเมียวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ภาพ: Disney+ Hotstar